Current Database : (Total 231 Bib) เปลี่ยนเป็นภาษา ไทย
ELIB Web Gateway BPS Library Online
   Card Screen
Browse Search Keyword Search Expert Search Card Screen MARC Screen Copy Menu HELP

 Author  เจริญใจ สุนทรวาทิน (พ.ศ.๒๔๕๘ - ปัจจุบัน)
 Note  อาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน เป็นบุตรีคนสุดท้องของพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) กับคุณหญิงเสนาะดุริยางค์ (เรือน) เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๔๕๘ ได้เรียนวิชาสามัญที่โรงเรียนศึกษานารี จนจบชั้นมัธยมที่ ๑ จึงย้ายไปเรียนต่อที่โรงเรียนราชินี จนกระทั้งจบชั้นมัธยมปีที่ ๔ พระยาเสนาะดุริยางค์ผู้เป็นบิดาได้สังเกตพิจารณาอย่างถ่องแท้จนรู้แน่ชัดว่าบุตรีมีความสามารถ มีพรสวรรค์เป็นเลิศในการขับร้อง สามารถที่จะถ่ายทอดวิชาดนตรีได้ดีกว่าคนอื่นๆ จึงให้ออกจากการศึกษาวิชาสามัญและทุ่มเทเวลาให้กับการศึกษาวิชาดนตรีอย่างเต็มที่ การเรียนดนตรีของอาจารย์เจริญใจ เรียกได้ว่าวันละสามเวลา คือตอนเช้าก่อนไปโรงเรียน ตอนเย็นกลับจากโรงเรียน และตอนค่ำก่อนจะเข้านอน โดยท่านบิดาจะค่อยๆสอนให้วันละเล็กละน้อยอย่างช้าๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก จนได้ความรู้ครบถ้วน ทั้งกลวิธีเม็ดพรายในการขับร้องไปจนถึงความถูกต้องตามอารมณ์ของเพลง นับได้ว่าทุกวรรคทุกตอนนั้นขัดเกลาปลูกฝังกันโดยสมบูรณ์ตามระเบียบวิธีแบบโบราณโดยแท้ ทั้งมิใช่จะเรียนแต่การขับร้องแต่เพียงอย่างเดียว ทางเครื่องก็ต้องเรียนไปพร้อมๆกันด้วย อาจารย์เจริญใจสามารถตีระนาดเอกเพลงพญาโศกได้จนครบ ๔เที่ยว ตามระเบียบวิธีการบรรเลงเดี่ยวระนาดเอก ทั้งรู้เนื้อฆ้องและปฏิบัติเครื่องสายได้ถึงเดี่ยวทุกเครื่องมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งซอสามสาย ซึ่งในขณะเขียนบันทึกนี้ (พ.ศ.๒๕๒๕) ฝีมือการบรรเลงซอสามสายของท่านนับได้ว่าเป็นเลิศ หน้าที่การงานของอาจารย์เจริญใจพอสรุปได้ดังนี้ รัชกาลที่ ๖ เข้าถวายตัวเป็นข้าหลวงเรือนนอก (ข้าหลวงไปกลับมิได้ประจำอยู่ในวัง) ทำหน้าที่เป็นนักร้อง ได้รับพระราชทานเสมาทองคำ ร.๖ รัชกาลที่๗ เข้าถวายตัวเป็นข้าหลวงสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี มีหน้าที่ขับร้องและบรรเลงดนตรีประจำวงดนตรีมโหรีหลวงในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานเหรียญ รพ. ในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี รัชกาลที่๘ โอนไปสังกัดสำนักพระราชวัง กรมศิลปากร และโรงเรียนการเรือนพระนคร ตามลำดับ และสอนอยู่ที่โรงเรียนการเรือนพระนคร กับโรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ จนเกิดสงครามโลก ครั้งที่ ๒ จึงออกจากราชการ รัชกาลปัจจุบัน เริ่มเข้าสอนดนตรีไทยที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ.๒๕๐๘ จนถึงปัจจุบัน โดยมิได้รับค่าสอนเลยในระยะ ๑๒ ปีแรก ครั้นเมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จเข้าทรงศึกษาระดับปริญญาตรี จึงได้ถวายการสอนส่วนพระองค์ต่อมา ผลงานทางดนตรีเรียงตามลำดับเวลาได้ดังนี้ ๑๙ มกราคม พ.ศ.๒๔๖๖ ประกวดปี่พาทย์ ณ วังบางขุนพรหม อายุได้ ๘ ปี เป็นนักดนตรีที่อายุน้อยที่สุด ผลการประกวด ขับร้องได้ที่ ๓
 Added Entry  พิชิต ชัยเสรี (เรียบเรียงจากคำบอกเล่าของอาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน)
 URL Object     View Image
Copyright : Mahidol University Library and Knowledge Center
For Query, Please send email to : liwww@mahidol.ac.th